วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

แหล่งอ้างอิง

203.172.179.25/historysk1/his4/asean5.htm
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2 
http://www.triphathara.com/news.php?readmore=61
th.wikipedia.org/wiki/ประเทศกัมพูชา
http://www.triphathara.com/news.php?readmore=61

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

คำทักทาย

คำกล่าวทักทาย (ภาษาประเทศสมาชิกอาเซียน)

สวัสดี = Hello / Hi

ประเทศ 

คำอ่านภาษาอังกฤษ

คำอ่านภาษาไทย

บรูไน  Salamat Datang     ซาลามัต ดาตัง     
   อินโดนีเซีย    Salamat Siang  ซาลามัต เซียง 
มาเลเซีย Salamat Datang  ซาลามัต ดาตัง 
ฟิลิปปินส์ Kumusta  กูมุสตา
สิงคโปร์ Ni Hao  หนีห่าว 
ไทย Sawadee  สวัสดี 
กัมพูชา Shuo Sa Dai  ซัวสเด 
ลาว Sabaidee  สะบายดี 
พม่า Mingalar Par มิงกาลาบา 
เวียดนาม Xin Chao  ซินจ่าว


อาหารกัมพูชา


             อาหารกัมพูชา หรือ อาหารเขมร เป็นอาหารที่บริโภคกันอย่างแพร่หลายในประเทศกัมพูชา อาหารของกัมพูชามีทั้งผลไม้ ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เครื่องดื่ม ขนมและซุปต่างๆ อาหารหลักสำหรับชาวกัมพูชาเป็นข้าว ที่รับประทานเกือบทุกมื้อ แต่ก๋วยเตี๋ยวยังเป็นที่นิยม กับข้าวมีความหลากหลายทั้งที่เป็นแกง ซุป ทอดและผัด มีพันธุ์ข้าวจำนวนมากในประเทศกัมพูชารวมทั้งข้าวหอมและข้าวเหนียว ข้าวเหนียวนิยมรับประทานเป็นของหวานกับกับผลไม้เช่นทุเรียน
อาหารเขมรมากมีความคล้ายคลึงกับอาหารของเพื่อนบ้านเช่นประเทศไทยแม้ว่าโดยทั่วไปจะไม่เผ็ดเท่า และเวียดนามที่มีประวัติศาสตร์ร่วมกันในการเป็นอาณานิคมฝรั่งเศสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนและฝรั่งเศสที่เคยมีอิทธิพลต่อกัมพูชาในประวัติศาสตร์ อาหารประเภทแกงหรือที่เรียกว่ากะหรี่ (เขมร: ការី) แสดงร่องรอยของอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาหารอินเดีย ก๋วยเตี๋ยวเส้นหลายรูปแบบแสดงอิทธิพลของอาหารจีน กะทิเป็นส่วนผสมหลักของแกงกะหรี่เขมรและของหวาน
ขนมปังฝรั่งเศสเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากยุคอาณานิคม ซึ่งชาวกัมพูชามักจะกินกับปลากระป๋องหรือไข่ กาแฟปรุงด้วยนมข้นหวาน เป็นตัวอย่างของอาหารเช้ากัมพูชาในกัมพูชาแบบหนึ่ง


กัมพูชา

      กัมพูชายังถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาที่มีความยากจนมากประเทศหนึ่ง ดังนั้น รัฐบาลกัมพูชา
จึงให้ความสำคัญอย่างสูงสุดต่อการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อมุ่ง
ขจัดความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของ ประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทให้ดีขึ้น 
ปัจจุบันรัฐบาลกัมพูชาอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามแผนพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติ

   ธงชาติกัมพูชา
















1.  ที่ตั้งอาณาเขต
       กัมพูชามีพรมแดนติดต่อกับ 3 ประเทศ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับประเทศไทย (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และลาว 
(แขวงอัตตะปือ และ จำปาสัก)
ทิศใต้ ติดอ่าว
ไทย         
ทิศตะวันออก ติดกับเวียดนาม (จังหวัดกอนทูม เปลกู ซาลาย ดั๊กลั๊ก ส่องแบ๋ เตยนิน ลองอานด่งท๊าบ 
อันซาง และเกียงซาง
ทิศตะวันตก ติดกับประเทศไทย (จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด)
 
          เขตแดนไทย-กัมพูชา กัมพูชามีเส้นเขตแดนติดต่อกับประเทศไทย ยาวประมาณ 803 กิโลเมตร ประกอบด้วย
               ทิศเหนือ                ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์
               ทิศตะวันตก            ติดต่อกับจังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด  

2.    พื้นที่
      กัมพูชามีขนาด กว้าง 500 กิโลเมตร ยาว 450 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด181,035 ตารางกิโลเมตร 
หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย
3.    ลักษณะภูมิประเทศ
             กัมพูชามีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ประกอบด้วย ที่ราบรอบทะเลสาบเขมรและที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง 
มีทิวเขาล้อมรอบทางเหนือ คือ เทือกเขาพนมดงรัก เทือกเขาบรรทัด และเทือกเขาอันนัม โดยมีลักษณะ
ภูมิประเทศคล้ายชามหรืออ่าง คือ ตรงกลางเป็นแอ่งทะเลสาบ และลุ่มแม่น้ำโขงอันกว้างขวาง มีภูเขาล้อม
รอบอยู่ 3 ด้าน ได้แก่
               (1) ด้านตะวันออก มีแนวเทือกเขาอันนัมที่เป็นพรมแดนกับประเทศเวียดนาม
               (2) ด้านเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ มีแนวเทือกเขาพนมดงรักที่เป็นพรมแดนกับประเทศไทย
               (3) ด้านใต้และตะวันตกเฉียงใต้ มีแนวเทือกเขาบรรทัดที่เป็นแนวพรมแดนกับประเทศไทย 
โดยมีพื้นที่เฉพาะด้านตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
                แม่น้ำและทะเลสาบที่สำคัญ ได้แก่
               (1) แม่น้ำโขง ไหลจากลาวเข้าสู่ภาคเหนือของกัมพูชาแล้วไหลผ่านเข้าเขตเวียดนาม มีความยาว

ในเขตกัมพูชารวม 500 กิโลเมตร
               (2) แม่น้ำทะเลสาบ เชื่อมระหว่างแม่น้ำโขงกับทะเลสาบ ความยาว 130 กิโลเมตร
               (3) แม่น้ำบาสัก (Bassac) เชื่อมต่อกับแม่น้ำทะเลสาบที่หน้าพระราชวังกรุงพนมเปญ ความยาว 
 80กิโลเมตร
               (4) ทะเลสาบ (Tonle Sap) เป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ 3,000 ตารางกิโลเมตร
4.   ลักษณะภูมิอากาศ
       กัมพูชามีอากาศมรสุมเขตร้อนเป็นแบบร้อนชื้นแถบมรสุม โดยฤดูฝน เริ่มจากเดือนพฤษภาคม-
พฤศจิกายน  และฤดูแล้งระหว่างเดือนธันวาคม เมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 20 - 36 องศาเซลเซียส 
โดยที่เดือนเมษายนมีอุณหภูมิสูงที่สุด เดือนมกราคมมีอุณหภูมิต่ำที่สุด และเดือนตุลาคมมีฝนตกชุกที่สุด
    5.  เมืองหลวงและเมืองสำคัญ
            - เมืองหลวง ได้แก่ กรุงพนมเปญ เป็นศูนย์กลางแหล่งอุตสาหกรรมและพาณิชย์กรรมหลักของ
ประเทศ
            - เมืองสำคัญได้แก่ กรุงพระสีหนุวิลล์ หรือกรุงกัมปงโสม (เป็นท่าเรือน้ำลึกนานาชาติ) จังหวัด

เสียมราฐ (เสียมเรียบ) จังหวัด พระตะบอง จังหวัดเกาะกง และจังหวัดกัมปงจาม
6.  ประชากร
      ประชากร 14.7 ล้านคน (ปี 2551) ประกอบด้วย
               - ชาวเขมร คิดเป็นร้อยละ 90 ของประชากรทั้งหมด
               - ชาวญวน คิดเป็นร้อยละ 4 ของประชากรทั้งหมด
               - ชาวจีน คิดเป็นร้อยละ 3 ของประชากรทั้งหมด
               - อื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 3 ของประชากรทั้งหมด เช่น ชาวไทย (ไทยเกาะกง) ชาวลาว ชาวจาม
  ชาวจะราย ชาวระแดว์ ชาวเสตียง ชาวเมฺรญ และชาวเปือร์ เป็นต้น
      7.  การเมืองการปกครอง
       กัมพูชามีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  
นับจากการเลือกตั้งทั่วไปภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2536 การเมืองของกัมพูชามีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง
การแบ่งเขตการปกครอง
         กัมพูชา แบ่งเขตการปกครองเป็น 20 จังหวัด (Provinces) ได้แก่ พระตะบอง บันเตียเมียนจัย
 อุดรเมียนจัย พระวิหาร สตึงไตรย์ รัตนคีรี มณฑลคีรี กระแจะ กัมปงจาม สวายเรียง ไปรเวง กันดาล ตาแก้ว
 กัมปอต เกาะกง โพธิสัต เสียมเรียบ กัมปงทม กัมปงสะปือ และกัมปงชะนัง (แต่ละจังหวัดจะแบ่ง
เขตปกครองภายในออกเป็นอำเภอ (Srok) กับตำบล (Khum)) กับเขตปกครองพิเศษเรียกว่า กรุง
 (Municipalities) อีก 4 กรุง ได้แก่ แกบ ไพลิน  พนมเปญ และ  สีหนุวิลล์
      8.  ภาษา
         ภาษาเขมรเป็นภาษาทางการ ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส  
ภาษาเวียดนาม ภาษาไทย และภาษาจีน
      9.  ศาสนา
           รัฐธรรมนูญกัมพูชาบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะมีผู้นับถือพระพุทธศาสนา 
 95% ศาสนาอิสลาม 3% ศาสนาคริสต์ 1.7% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 0.3%
     10. เศรษฐกิจ
       เศรษฐกิจของกัมพูชาส่วนใหญ่อยู่ในภาคบริการเป็นหลัก หรือคิดเป็นร้อยละ 41 รองลงมา ได้แก่
ภาคอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 30 และ ภาคการเกษตร คิดเป็นร้อยละ 29 (ข้อมูลปี 2550)
     11. สกุลเงิน
        เรียล (Riel)  อัตราการแลกเปลี่ยน 125 เรียล (Riel) เท่ากับ 1 บาท (ธันวาคม 2552 )

[สิ่งควรรู้]ราชอาณาจักรกัมพูชา ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា (เขมร)

ราชอาณาจักรกัมพูชา
ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា (เขมร)
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญKh-Motto.png
(ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์)
เพลงชาตินครราช
เพลงสรรเสริญพระบารมีนครราช
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
พนมเปญ
11°33′N 104°55′E / 11.55°N 104.917°E
ภาษาทางการ ภาษาเขมร
การปกครอง ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
 -  พระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
 -  นายกรัฐมนตรี สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน
ก่อตั้ง
 -  อาณาจักรฟูนัน 611 
 -  อาณาจักรเจนละ 1093 
 -  จักรวรรดิแขมร์ 1345 
 -  ตกเป็นอาณานิคมฝรั่งเศส 2406 
 -  ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส 9 พฤศจิกายน 2496 
 -  ฟื้นฟูพระมหากษัตริย์ 24 กันยายน 2536 
พื้นที่
 -  รวม 181,035 ตร.กม. (88)
69,898 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) 2.5
ประชากร
 -  2554 (ประเมิน) 14,805,358[1] (66)
 -  2551 (สำมะโน) 13,388,910 
 -  ความหนาแน่น 81.8 คน/ตร.กม. (118)
211.8 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2554 (ประมาณ)
 -  รวม 32,489 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ[2] 
 -  ต่อหัว 2,470 ดอลลาร์สหรัฐ[2] 
จีนี (2550) 43[3] (ปานกลาง
ดพม. (2554) 0.523[4] (ปานกลาง) (139)
สกุลเงิน เรียลกัมพูชา (KHR)
เขตเวลา (UTC+7)
 -  (DST)  (UTC+7)
ระบบจราจร ขวามือ
โดเมนบนสุด .kh
รหัสโทรศัพท์ +855
เงินดอลลาร์สหรัฐใช้กันแพร่หลาย